myHealthWorld myHealthThink myHealthPeek myHealthMob License AgreementPrivacy PolicySupport Center
Product
myHealthFirst myHealthCare myHealthMob myHealthThink myHealthRoom Plug Tablet
Service
Smart Hospital Corporate Wellness Home Monitoring
Download
myHealthFirst APK
Contact
Login
10 เทคนิคการวิ่งเพื่อสุขภาพ

        การวิ่งเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นการออกกำลังที่ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ เพิ่มเติม และยังเป็นกีฬาที่คนส่วนมากเลือกที่จะเป็นกีฬาเริ่มต้น เมื่อต้องการออกกำลังกาย สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย เพียงแค่เราควรปรับให้เหมาะสมกับตัวเรา เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย โดยมีเทคนิคง่าย ๆ ดังนี้

1. อบอุ่นร่างกายก่อนวิ่ง

        การอบอุ่นร่างกายเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเริ่มจากการวิ่งเหยาะ ๆ และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพราะจะช่วยให้ร่างกาย เกิดความพร้อม ลดโอกาสในการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นต่าง ๆ

2. ลงเท้าให้ถูกวิธี

        สิ่งที่ควรสัมผัสพื้นก่อนคือส้นเท้า ตามด้วยฝ่าเท้า และเมื่อปลายเท้าแตะพื้น  ก็จะพอดีกับจังหวะที่ส้นเท้าเปิดขึ้น ปลายเท้าจะคล้ายตะกุยดิน ถีบส่งตัวให้เคลื่อนไปข้างหน้าคล้ายสปริง  การลงเท้าที่ถูกวิธีช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกได้

3. วิ่งด้วยท่าที่ถูกต้อง

        ท่าที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มการทรงตัว ควรให้ร่างกายเป็นธรรมชาติมากที่สุด หลังและศีรษะตรง ตามองตรงไปข้างหน้า  ลำตัวไม่โน้มไปด้านหน้าหรือเอนไปด้านหลัง

4. เคลื่อนไหวแขนให้เป็นจังหวะ

        เป็นการสร้างจังหวะในการวิ่งเพื่อให้การทรงตัวดียิ่งขึ้น  แกว่งแขนในลักษณะเหมือนกับลูกตุ้มนาฬิกาไปตามแนวหน้า-หลัง  กำมือหลวม ๆ

5. หายใจด้วยท้อง

        สูดหายใจเข้าไปในปอดจนท้องขยาย และบังคับปล่อยลมให้ออกมาด้วยการแขม่วท้อง การหายใจไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้เกิดการจุกเสียดขณะวิ่งได้

6. วิ่งด้วยความเร็วที่เหมาะสม

        ควรใช้ความเร็วที่พอดีกับร่างกาย เมื่อวิ่งไปแล้ว 4 – 5 นาที ควรมีเหงื่อออก รู้สึกเหนื่อยจนต้องหายใจแรงขึ้น แต่ไม่ถึงกับต้องหายใจทางปากหรือมีอาการหอบ

7. วิ่งสลับเดินยาวบ้างก็ได้

        การวิ่งติดต่อกันโดยไม่หยุด เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนักสำหรับผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือวิ่งเป็นประจำอยู่ก่อน ดังนั้นไม่ควรหักโหมจนเกินไป เราสามารถวิ่งสลับกับการเดินยาว หรือเดินเร็วได้ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว

8. เพิ่มระยะเวลา และความเร็ว

        การเพิ่มระยะเวลาของการวิ่งให้มากขึ้น และลดระยะเวลาของการเดินให้น้อยลง จนสามารถวิ่งเหยาะได้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า10 นาที  หากสามารถวิ่งในลักษณะนี้ได้อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์ ถือได้ว่าเป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพ

9. จับสัญญาณอันตราย

        สัญญาณอันตราย เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้หรือหน้ามืดเป็นลม รู้สึกคล้ายหายใจไม่ทันหรือหายใจไม่ออก ใจสั่น แน่น หน้าอก หรือลมออกหู อาจเกิดจากร่างกายอ่อนแอ อดนอน หรือเจ็บไข้ รวมไปถึงอาจเกิดจากมีอากาศร้อนจัด  ไม่ได้ดื่มน้ำและเกลือแร่พอเพียง หากมีอาการเกิดขึ้นควรชะลอความเร็ว เปลี่ยนเป็นเดิน แล้วจึงค่อย ๆ หยุดนั่งพัก หากยังไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์

10. ผ่อนคลายร่างกายหลังวิ่ง

        นอกจากการอบอุ่นร่างกายก่อนการเริ่มวิ่งแล้ว การผ่อนคลายหลังการวิ่งก็สำคัญไม่แพ้กัน หากหยุดวิ่งทันที ร่างกายอาจจะปรับตัวไม่ทัน อาจะทำให้มีอาการหน้ามืดเป็นลม หรือช็อคได้ ดังนั้นควรค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นการเดินเร็ว แล้วจึงหยุกพัก

 

ขอบพระคุณข้อมูลจาก ศ.นพ.ยุทธนา อุดมพร 

หน่วยสร้างเสริมสุขภาพกีฬาและนันทนาการ
Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

โพสต์เมื่อ : 29/03/2018
บทความที่คุณอาจสนใจ