myHealthWorld myHealthThink myHealthPeek myHealthMob License AgreementPrivacy PolicySupport Center
Product
myHealthFirst myHealthCare myHealthMob myHealthThink myHealthRoom Plug Tablet
Service
Smart Hospital Corporate Wellness Home Monitoring
Download
myHealthFirst APK
Contact
Login
ข้าวเหนียวมะม่วง กินอย่างไรไม่เสียสุขภาพ

ข้าวเหนียวมะม่วง กินอย่างไรไม่เสียสุขภาพ

         "ข้าวเหนียวมะม่วง" ขนมหวานไทยที่ได้รับความนิยมมานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าร้อน เป็นของหวานที่ให้พลังงานสูง แต่เป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน ดังนั้นจึงต้องมีเทคนิคในการกินซักหน่อย กินอย่างไรถึงจะดีกับสุขภาพ ไม่เพิ่มน้ำหนัก ขอแนะนำเคล็ดลับการกินข้าวเหนียวมะม่วงเพื่อความอร่อย และสุขภาพที่ดี ดังนี้ ค่ะ

-กินมะม่วงมากกว่าข้าวเหนียว เช่น กินมะม่วงสุกครึ่งลูก (ขนาดกลาง) จะได้พลังงานประมาณ 70 กิโลแคลอรี ส่วนข้าวเหนียวมูนให้กิน 100 กรัม หรือ 1 ขีด จะให้พลังงาน 280 กิโลแคลอรี เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับ 350 กิโลแคลอรี

-กินข้าวเหนียวมะม่วงช่วงเวลากลางวัน เพราะกลางวันเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องใช้พลังงานทำกิจกรรมต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินมื้อเย็น เนื่องจากมีกิจกรรมที่ต้องทำน้อยกว่าช่วงกลางวัน พลังงานที่ได้รับเข้าไปอาจเผาผลาญและนำไปใช้ไม่หมด เกิดเป็นไขมันสะสมตามร่างกายได้

-ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ต้องระมัดระวัง เพราะข้าวเหนียวมะม่วงเป็นอาหารที่มีทั้งน้ำตาลและไขมันปริมาณที่ค่อนข้างสูง จึงแนะนำให้กินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และควรลดปริมาณข้าวเหนียวลงให้เหลือสักครึ่งขีดกรณีที่ต้องการกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์

-คนสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว อาจจะกินข้าวเหนียวมะม่วงได้มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ต้องไม่ลืมว่าข้าวเหนียวมะม่วงให้พลังงานเทียบเท่ากับการกินอาหารมื้อหลัก 1 มื้อเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานที่กินเข้าไป

-เลือกกินข้าวเหนียวดำ (ถ้าเป็นไปได้) หรือข้าวเหนียวที่มูนด้วยน้ำกะทิที่ผสมสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ดอกอัญชัน แครอต ขมิ้น และใบเตย เพราะจะได้รับสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่าการกินข้าวเหนียวขาว

-กินมะม่วงแก่จัด เพื่อให้ได้รสชาติดีและสารอาหารจากมะม่วงครบถ้วน ควรซื้อมะม่วงที่แก่จัด และควรปล่อยให้สุกตามธรรมชาติ เนื่องจากมะม่วงที่บ่มแก๊สจะให้กลิ่นและรสที่ไม่ดีเท่ากับมะม่วงสุกตามธรรมชาติ วิธีการสังเกตคือ มะม่วงที่แก่จัดนั้นผลจะอวบ ด้านล่างของมะม่วงจะไม่แหลม ส่วนมะม่วงที่เก็บมาตอนไม่แก่จัด แล้วนำมาบ่มแก๊สผิวจะเหี่ยว

-ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง ควรกินมะม่วงสุกแต่น้อย กินครั้งละไม่เกิน 1 ผล ขนาดกลาง และใน 1 สัปดาห์ไม่ควรกินเกิน 2 ครั้ง ส่วนผู้ป่วยโรคไตควรงดกินมะม่วงสุกเพราะมีปริมาณโพแทสเซียมสูง

         หลายคนอาจจะคิดว่ากะทิ และข้าวเหนียว เหมือนตัววายร้าย คอยทำร้ายร่างกายของเรา กินเข้าไปแล้วก่อให้เกิดโทษแต่เพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วกะทิเป็นตัวช่วยให้ร่างกายสามารถนำวิตามินเอที่มีอยู่ในเนื้อมะม่วงไปใช้ได้ เพราะวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ต้องอาศัยไขมันเป็นตัวช่วยพาเข้าร่างกาย จึงนับเป็นความฉลาดของคนไทยสมัยก่อนที่จับคู่ข้าวเหนียวมูนด้วยกะทิ คู่กับมะม่วง ส่วนข้าวเหนียวก็ไม่ได้มีแค่แป้ง เพราะถ้าเป็นข้าวเหนียวดำ ก็มีสารต้านมะเร็งชั้นเลิศอยู่เช่นกัน จะเห็นได้ว่ากะทิและข้าวเหนียวไม่ได้มีโทษต่อร่างกายอย่างเดียว หากแต่ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

โพสต์เมื่อ : 18/04/2019
บทความที่คุณอาจสนใจ