myHealthWorld myHealthThink myHealthPeek myHealthMob License AgreementPrivacy PolicySupport Center
Product
myHealthFirst myHealthCare myHealthMob myHealthThink myHealthRoom Plug Tablet
Service
Smart Hospital Corporate Wellness Home Monitoring
Download
myHealthFirst APK
Contact
Login
13 ข้อ ควรรู้เกี่ยวกับ “พาราเซตามอล”

13 ข้อ ควรรู้เกี่ยวกับ “พาราเซตามอล”

           คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับยาแก้ปวดที่ชื่อ "พาราเซตามอล" ใช่ม๊ะ แต่พวกเราส่วนใหญ่มักเข้าใจเพียงแค่ ปวดอะไรหรือเป็นไข้ก็กินพาราสักเม็ดสองเม็ด แม้ว่ามันจะเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาซื้อตามร้านสะดวกซื้อได้ตลอด จริง ๆ แล้วยังมีอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับเจ้ายาแก้ปวดที่ชื่อว่า "พาราเซตามอล" ตัวนี้ที่หลายคนคงไม่รู้

           1.ชื่อเต็ม ๆ ของพาราเซตามอลคือ "พารา-อะเซตามีโนฟีน่อล" (Para-Acetylaminophenol) บ้านเราเรียกพาราเซตามอล บางคนเรียก อะเซตามีโนเฟน

           2.พาราเซตามอล จะปลอดภัยหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม คือไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม ต่อโดส (ต่อ 1 ครั้งที่กิน) และไม่เกิน 4000 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ ส่วนคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ไม่ควรเกินวันละ 2000 มิลลิกรัม มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายต่อตับได้

           3.ไทลินอล 650 มิลลิกรัม / 1เม็ด คือ Tylenol 8 hr จะเป็นแบบพิเศษที่จะปล่อยตัวยา 325 มิลลิกรัมให้ออกฤทธิ์ในทันที ส่วนอีก 325 มิลลิกรัม จะค่อย ๆ ออกฤทธิ์ เป็นยาที่ออกฤทธิ์สม่ำเสมอ 8 ชั่วโมง ขณะที่ยาพาราเซตามอลที่เรารับประทานปกตินั้นจะออกฤทธิ์ 4-6 ชั่วโมง

           4.คนที่คิดฆ่าตัวตายด้วยการกินพาราเซตามอลเกินขนาด ไม่ทำให้หมดสติได้อย่างใจนะคะ มันจะค่อย ๆ เกิดอันตรายต่อร่างกาย ช่วงแรกอาจไม่เป็นอะไร แต่จะเจ็บป่วยยาวนาน รวมถึงการคลื่นไส้อาเจียน เหงื่อแตก และตับวายเฉียบพลันหลังจากกินพาราเซตามอลเกินขนาดไปนานหลายชั่วโมง ถ้าคิดได้ทัน ควรพบแพทย์ในทันที เพราะจะเสียชีวิตภายใน 3-5 วัน

           5.ไม่ควรให้ยาพาราเซตามอลแก่สุนัขหรือแมว เพราะหากคำนวณจากน้ำหนักตัวแล้ว สุนัขและแมวจะต้องกินยาน้อยมาก ๆ ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์เป็นผู้สั่งยา มิฉะนั้นจะเป็นพิษต่อตับของน้องได้ อันตรายมาก ๆ

           6.พาราแก้ไข้ แก้ปวด ก็มีส่วนประกอบของยาแก้อักเสบอยู่ด้วยนะ แต่เป็นชนิดไม่ใช่สเตรอยด์

           7.สำหรับใครที่ชอบคิดว่า "กินยาดักไว้ก่อนมีอาการ" จริง ๆ แล้ววิธีนี้มันไม่ได้ผลหรอกนะ

           8.ห้ามกินพาราเซตามอลร่วมกับยารักษาวัณโรค และยารักษาโรคลมชัก เพราะจะออกฤทธิ์เพิ่มการเป็นพิษต่อตับสูงขึ้น

           9.โรคหัวใจและโรคความดันสูง ไม่ควรกินยาแก้ปวดหรือพาราเซตามอล เพราะจะทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้น

           10.อย่าให้พาราเม็ดแก่เด็กเล็กเอง น้องไม่สบายให้พบกุมารเวชเพื่อสั่งยาสำหรับเด็กให้นะคะ

           11. หากลืมกินยาแก้ปวด ไม่จำเป็นต้องกินเพิ่มจำนวนในครั้งต่อไปนะคะ ก็กินเท่าเดิมในมื้อต่อไป

           12. ห้ามกินยาพาราเซตามอลติดต่อกันเกิน 7 วัน

           13. คนท้องห้ามกินเด็ดขาด เพราะอาจจเข้าสู่ร่างกายทารกได้

           เห็นไหมล่ะ เรื่องของพาราเซตามอลนั้นมีรายละเอียดมากกว่าที่พวกเราหลายคนรู้ ไม่ใช่กินมั่ว ๆ ไม่กลัวกันเลย พาราเซตามอลก็มีพิษเช่นกันหากกินกันผิด ๆ นะค่ะ

 

ติดตามข่าวสารสุขภาพและนวัตกรรมด้านสุขภาพ ได้ที่ 

Facebook : https://www.facebook.com/myhealthfirstofficial

tiktok : @myhealthfirst_mhf

โพสต์เมื่อ : 29/07/2019
บทความที่คุณอาจสนใจ